ข้อเสื่อม คือ ภาวะที่มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนของข้อที่มีการเคลื่อนไหวมาก เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ ข้อศอก และข้อไหล่ เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็จะเกิดการเสื่อมและสึกหรอ เกิดอาการปวดขัดตามข้อ ข้อโปน และผิดรูปซึ่งมักพบในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
โดยระยะเวลาในการเกิดภาวะข้อเสื่อมนั้นจะไม่ทราบเมื่อเริ่มมีอาการในระยะแรก ๆ จนกระทั่งเกิดการสูญเสียการทำงานของกระดูกหรือข้อต่อต่าง ๆ ไปแล้ว จึงจะตรวจพบว่าเป็นโรคข้อเสื่อม
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมและการป้องกันข้อเข่าเสื่อม
- อาการของโรคข้อเสื่อม
ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการเจ็บและปวดตามข้อกระดูกที่เริ่มเสื่อม ขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลง ข้อต่อบวม มีอาการกดเจ็บเมื่อมีการใช้แรงกดบริเวณข้อต่อ รู้สึกหรือได้ยินการเสียดสีของกระดูกข้อต่อ ข้อต่อเกิดการติดแข็งเมื่อขยับตัวหลังจากอยู่นิ่ง ๆ หรือไม่ได้ทำกิจกรรมเป็นเวลานาน เช่น การตื่นนอนตอนเช้า เมื่อข้อเสื่อมรุนแรงผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดกระดูก กระดูกผิดรูปจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
หากข้อกระดูกส่วนที่สำคัญในร่างกายเกิดการเสื่อม เช่น กระดูกไขสันหลังหรือส่วนคอ จะมีอาการเริ่มต้นคืออาการปวดและปวดร้าวมาที่มือ ถ้าอาการของโรคมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือมีปัญหา แขน ขา อ่อนแรงร่วมด้วย ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
- ป้องกันข้อเสื่อม กินอะไรดี
ในกลุ่มผู้สูงอายุความหนาแน่นของมวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลง จนเกิดอาการปวดข้อต่อและเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้ ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อกระดูกและข้ออย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต งาโดยเฉพาะงาดำ ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เต้าเจี้ยว
อาหารเสริมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกทั่วร่างกาย
รวมถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกทั่วร่างกาย ตลอดจนมีส่วนช่วยสร้างกระดูกอ่อนในข้อกระดูก ขอแนะนำ แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต พลัส แมกนีเซียม
- มีส่วนช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกทั่วร่างกาย
- มีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกอ่อนในข้อกระดูก
- แคลเซียมที่สกัดมาจากวิตามินซีในแป้งข้าวโพด ละลายน้ำได้ดีมาก ดูดซึมเข้าร่างกายได้มากกว่า 95% มากกว่าแคลเซียมคาร์บอเนตถึง 6 เท่า
- สามารถดูดซึมเข้าเซลล์เนื้อเยื่อร่างกายได้โดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดี และกรดในกระเพาะอาหารเหมือนแคลเซียมทั่วไป
- ไม่ก่อสารตกค้างในร่างกาย ไม่ทำให้เป็นนิ่ว และไม่ทำให้ท้องผูก
ผู้สูงอายุมีมวลกระดูกที่น้อยลง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักโดยเฉพาะตำแหน่งข้อสะโพก เป็นภาวะที่มีอันตรายสูงและรักษาได้ยาก ดังนั้นการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ การออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงยาวนานที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ