วัดมวลกระดูกคือ
เป็นการวัดเพื่อให้ทราบถึงความหนาแน่นของเนื้อกระดูก ( ค่ามวลกระดูก) ของร่างกายว่าปกติหรือมีภาวะกระดูกพรุน ( กระดูกบาง ) หรือไม่ ซึ่งผู้รับการตรวจจะทราบผลได้ทันที
การวัดความหนาแน่นของเนื้อกระดูกเป็นวิธีการตรวจที่มาตรฐานที่สุดบริเวณที่ตรวจคือบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะหักได้บ่อย เช่น กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า กระดูกข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง โดยในการตรวจความหนาแน่นของกระดูกไม่ต้องเตรียมตัวใดๆ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ผู้ตรวจจะไม่รู้สึกเจ็บปวดและไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
ทำไมต้องวัดมวลกระดูก
เนื่องจากภาวะโรคกระดูกพรุนระยะแรก จะไม่มีอาการใดๆ การทราบค่าความหนาแน่นของกระดูกด้วยการวัดมวลกระดูกจะสามารถป้องกัน และรักษาโรคกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น ก่อนที่อาการของโรคจะแสดง นั่นหมายถึงเกิดกระดูกสันหลังยุบ ทรุด หัก หรือ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า ข้อสะโพกหัก เมื่อได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งจะสายเกินไป โดยควรได้รับการตรวจทุกคนเมื่ออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เพื่อจะได้ทราบว่ามีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกอยู่ในปริมาณเท่าไหร่ เทียบกับคนในเพศเดียวกัน และอายุเท่ากัน โดยค่าปกติจะไม่ต่ำกว่า –1.0 T – Score.
ผลการตรวจมีรายละเอียดดังนี้
1.ผลการตรวจเป็นสีเขียว คือ
- มวลกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่า T – Score มากกว่า –1.0
2. ผลการตรวจเป็นสีเหลือง คือ
- พบโรคกระดูกพรุนเล็กน้อย มีค่า T– Score –1.0 ถึง –2.5
- เริ่มมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหัก
- ควรได้รับการส่งเสริมการสร้างมวลกระดูก
3. ผลการตรวจเป็นสีชมพู คือ
- พบโรคกระดูกพรุนปานกลาง มีค่า T – Score –2.5 ถึง –3.5
- มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักปานกลาง
- ควรได้รับการส่งเสริมการสร้างมวลกระดูก
4. ผลการตรวจเป็นสีแดง คือ
- พบโรคกระดูกพรุนอย่างรุนแรง มีค่า T – Score มากกว่า –3.5
- มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักสูงสุด
- ควรได้รับการส่งเสริมการสร้างมวลกระดูกทันที
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเมืองเพชร
เราดูแลท่านดุจญาติของเรา