โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มักจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม มักจะมีอาการปวดเข่า เสียงดังก๊อบแก๊บในเข่า เข่ายึด เข่าฝืด เข่าติด ลุกนั่งลำบาก หรือก้าวเดินไม่ไหว ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก จึงขอแนะนำความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม รวมไปถึงวิธีการรักษาและดูแลที่จะช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของข้อเข่า และป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเกิดการสึกหรอไปมากกว่าเดิม เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมทุกคนได้มีข้อเข่าที่เเข็งแรงขึ้น สามารถเคลื่อนไหวและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกมากขึ้น
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนข้อเข่า หมอนรองกระดูกเข่า ทำให้มีการอักเสบในข้อเข่า โดยมักจะเกิดขึ้นตามช่วงอายุ หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ทานอาหารที่มีแคลเซียมสุทธิน้อย มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน กิจกรรมในชีวิตประจำวัน การใช้งานข้อเข่ามากเกินไป หรือ เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า ฯลฯ
โดยอาการแรกเริ่มของข้อเข่าเสื่อมนั้น ช่วงแรกๆ จะไม่มีอาการใดๆ เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นก็จะมีเสียงดังก๊อบแก๊บในเข่า และตามมาด้วยอาการปวดเข่า อันเนื่องมาจากมีการอักเสบภายในข้อเข่า ถ้าหากเราไม่ใส่ใจดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมก็จะเพิ่มความรุนแรงขึ้น โดยจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อเข่า ซึ่งจะสร้างความเสื่อมของข้อเข่าอย่างถาวรได้
6 สาเหตุหลักของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุหลักๆมักมีดังนี้
- การทานอาหารที่มีแคลเซียมสุทธิน้อย
คนเราต้องการแคลเซียมสุทธิจากอาหารที่ทานทุกๆวัน ประมาณวันละ 800-1,200 มิลลิกรัม เพื่อให้ร่างกายมีระดับแคลเซียมในเลือดอยู่ในช่วง 8.5 – 10.5 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ตลอดเวลา ซึ่งจะเพียงพอในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ใช้ในการทำงานของเส้นประสาททั่วร่างกาย และช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ตามปกติ แต่จากการศึกษาปริมาณแคลเซียมในอาหารของคนไทยพบว่า อาหารที่คนไทยทาน 3 มื้อต่อวันนั้น มีปริมาณแคลเซียมสุทธิอยู่ประมาณ 400 มิลลิกรัมเท่านั้น ทำให้ร่างกายต้องดึงเอาแคลเซียมออกมาจากกระดูก เพื่อนำมาใช้ในกระแสเลือดอีกประมาณ 400 มิลลิกรัมทุกๆวัน ซึ่งปัจจัยนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนและโรคข้อเสื่อมในคนไทยเรา และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคกระดูกข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มคนอายุน้อยๆ ด้วยเช่นกัน - อายุที่มากขึ้นตามวัย
ผลการสำรวจผู้ป่วยจากโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนมากมักจะเป็นในกลุ่มของผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุที่มากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเกิดจากความเสื่อมของกระดูกข้อเข่านั้นเสื่อมสภาพลง รวมถึงมีการสึกหรอจากการใช้งานของข้อเข่ามาเป็นระยะเวลานานๆ ดังนั้น จึงส่งผลให้พบโรคนี้ในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มวัยรุ่นหรือคนอายุน้อย โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนแต่ละช่วงวัยด้วย - น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน
การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์มาตรฐาน เช่น ผู้หญิงมีน้ำหนักเกิน 60 กิโลกรัม และ ผู้ชายมีน้ำหนักเกิน 70 กิโลกรัม จะทำให้เกิดอาการเข่าเสื่อมได้ง่ายมากขึ้น โดยผู้ที่มีน้ำหนักที่เกินกว่าเกณฑ์มักจะพบว่าเป็นข้อเข่าเสื่อมและสาเหตุเกิดมาจากข้อเข่าที่ต้องรับน้ำหนักตัวที่มากขึ้น และผิวกระดูกอ่อนข้อเข่าได้รับการเสียดสีมากกว่าคนที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ - กิจกรรมในชีวิตประจำวัน
การมีกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้เกิดแรงกดและเสียดสีที่ข้อเข่ามากกว่าปกติ เช่น การเดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ การยกของหนัก หรือใช้งานข้อเข่ามากเกินไปเป็นเวลานาน รวมไปถึง นั่งพับเพียบ การนั่งคุกเข่า การนั่งยองๆ การย่อเข่าบ่อยๆ การเดินไกลๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เข่าเสื่อมมากขึ้น และมักเป็นสาเหตุที่หลายๆคนมองข้ามไป - การประสบอุบัติเหตุข้อเข่า
การได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บที่บริเวณเข่า กระดูกบริเวณข้อเข่าหัก ข้อเข่าเคลื่อน เข่าหลุด กระดูกสะบ้าเข่าแตก เส้นเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า หรือหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด จะทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้เร็วและมากกว่าคนปกติ - การมีโรคประจำตัว
โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบของข้อ เช่น โรคกระดูกพรุน โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี เพราะโรคประจำตัวแบบนี้จะได้รับยารักษาโรคนี้อย่างต่อเนื่องนานๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้น
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
เราควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง และ ผู้สูงอายุในครอบครัว โดยอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมักมีอาการเริ่ม ดังนี้
- มีเสียงดังก๊อบแก๊บในข้อเข่า
การมีเสียงก๊อบแก๊บในข้อเข่า ขณะเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะขยับเข่า เดิน วิ่ง หรือ นั่ง
- ปวดเข่า เสียวเข่า
มีอาการปวดเข่า เสียวเข่า เป็นๆหายๆ อยู่บ่อยครั้ง และเป็นมากขึ้นจนไม่หายไปเอง หรือมีอาการปวดมากขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆ ในขณะที่ทำงานปกติในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินไปมา การเดินขึ้นลงบันได การนั่งทำงาน
- มีอาการเข่าบวม
มีอาการเข่าบวม หรือ มีอาการร้อนแดงบริเวณหัวเข่า พร้อมกับมีอาการปวดเข่า อันเป็นสัญญาณบอกว่าเกิดการอักเสบข้อเข่ามากขึ้นแล้ว ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ข้อเข่าจะเสื่อมอย่างรวดเร็วกว่าปกติ
- มีอาการเข่าติด ข้อเข่าฝืดตึง
อาการเข่าติดขัด ข้อเข่าเกิดการฝืด เป็นอาการที่บอกได้ถึงโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมักจะมีอาการในช่วงเช้า หรือหลังจากตื่นนอน อาการเข่าติด ฝืดตึง จะไม่สามารถยืดเหยียด หรืองอเข่าได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ลำบากมากขึ้น ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ และเข้ารับการรักษา เพื่อชะลอความรุนแรง และการเสื่อมของข้อเข่าที่กำลังจะเป็นเพิ่มมากขึ้น
โรคข้อเข่าเสื่อม..วัยไหนบ้างที่มีความเสี่ยง ?
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด เนื่องจากผิวกระดูกอ่อนที่ข้อเข่านั้นมีการเสื่อมสภาพ และสึกหรอไปตามกาลเวลา และยังพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากปัจจัยทางด้านฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงจากวัยทอง การตั้งครรภ์ และการทานอาหารที่มีแคลเซียมสุทธิน้อย
แต่ในปัจจุบันนี้คนที่มีอายุน้อยก็มีโอกาสจะเกิดโรคภาวะข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีการใช้ข้อเข่ามากเกินไป หรือมีการดำเนินชีวิตอันส่งผลกระทบต่อกระดูกและข้อเข่าโดยตรง และคนที่ขาดการดูแลสุขภาพร่างกาย ไม่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงปัญหาหลักของโรคกระดูกพรุนและข้อเสื่อมของคนไทยก็คือ การทานอาหารในชีวิตประจำวันที่มีแคลเซียมสุทธิน้อยนั่นเอง
วิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
อาการปวดเข่า เป็นอาการหลักของ “โรคข้อเข่าเสื่อม” ผู้ที่เป็นโรคนี้ จึงมักจะมีอาการปวดอยู่เป็นประจำ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นจะทำให้อาการปวดข้อเข่าดีขึ้นด้วย โดยมีคำแนะนำดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน
เราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ต้องใช้งานข้อเข่ามากๆ
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมท่านั่งที่ไม่เหมาะสม
หลีกเลี่ยงการนั่งคุกเข่า การนั่งพับเพียบ การเดินไกลๆ ไม่นั่งหรือยืนท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้ข้อเข่านั้นทำงานมากเกินไป การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นวิธีการแรกที่จะลดอาการปวดเข่าที่ได้ผลทันที
- ไม่ยกของหนัก
การยกของที่มีน้ำหนักเยอะๆอาจทำให้ข้อเข่าได้รับการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น ทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น
- การควบคุมน้ำหนัก
การควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นอีกวิธีการที่จะแก้อาการปวดเข่าให้หายอย่างถาวรได้ จะช่วยให้ข้อเข่าไม่ถูกการใช้งานในการรับน้ำหนักมากเกินไป ต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไป ช่วยลดแรงกระแทกต่อหมอนรองกระดูกอ่อนข้อเข่า และส่งผลให้ผิวกระดูกอ่อนที่ข้อเข่าไม่เสียดสีกันมากกว่าปกติ โดยผู้หญิงน้ำหนักไม่ควรเกิน 60 กิโลกรัม และ ผู้ชายน้ำหนักไม่ควรเกิน 70 กิโลกรัม
2. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ นั้นจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อเข่าได้ และยังเพิ่มความกระชับและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในส่วนของข้อเข่าได้อีกด้วย
- การบริหารหัวเข่า
การบริหารและออกกำลังกายหัวเข่า ด้วยการเน้นไปที่การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และต้นขาด้านหลัง จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรงขึ้น จะทำให้อาการปวดเข่าลดน้อยลงได้
3. การรักษาด้วยการใช้ยา
- การใช้ยาทานยาแก้ปวดข้อเข่า
ในช่วงแรกที่ปวดข้อเข่า การบรรเทาอาการปวดที่ดีที่สุดและรวดเร็ว ก็คือ การทานยาแก้ปวด หรือยาแก้ปวดข้อ เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยา NSAID เพราะเป็นวิธีที่สามารถแก้อาการปวดได้มากที่สุด และเห็นผลได้รวดเร็ว เพื่อลดอาการปวดข้อเข่าให้สามารถกลับมาใช้งานในชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
- ทานอาหารที่มีแคลเซียมสุทธิให้เพียงพอ
โดยการทานอาหารให้ได้แคลเซียมสุทธิ 800-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นไปได้ยากมากในยุคปัจจุบันนี้ จึงแนะนำให้ทานอาหารเสริมแคลเซียม ชนิดที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เกือบ 100% เช่น แคลเซียมข้าวโพด หรือ แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต ทุกๆวัน ซึ่งจะทำให้แคลเซียมกลับเข้าไปสะสมในกระดูกและหมอนรองกระดูกเข่า จะทำให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น เมื่อข้อเข่าแข็งแรงขึ้น อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม และการปวดข้อเข่าก็จะดีขึ้นด้วยเช่นกัน
4. การทาน ยูซีทู ( UC-II )
ยูซีทู ( UC-II ) หรือ Undenatured Collagen Type II เป็นคอลลาเจน ที่เป็นนวัตกรรมใหม่จากทางอเมริกา มีส่วนช่วยเสริมสร้างหมอนรองกระดูกข้อเข่าให้แข็งแรงขึ้น ช่วยลดการอักเสบ และลดการทำลายของหมอนรองกระดูกข้อเข่า การทานยูซีทู และ แคลเซียมข้าวโพด ร่วมกันอย่างต่อเนื่องทุกๆวัน จะช่วยทำให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5. วิธีการฉีดหรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
- การฉีดสารสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า
ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่า หรือมีอาการข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาทางยาทาน
โดยยาสเตียรอยด์จะช่วยลดการอาการอักเสบในข้อเข่า ซึ่งจะใช้เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น จะไม่สามารถทำให้โรคข้อเข่าเสื่อมหายขาดได้
- การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม
เป็นอีกวิธีหนี่งในการบรรเทาอาการปวดข้อเข่าในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแรก โดยการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าเทียมนั้นจะสามารถช่วยลดอาการปวดของข้อเข่าได้ ช่วยเพิ่มความหล่อลื่นให้กับข้อเข่า และช่วยลดแรงกระแทกบริเวณข้อเข่าได้ในบางส่วน
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย ที่สามารถแก้อาการปวดข้อได้ดีที่สุด เพราะว่าเป็นการผ่าตัดที่ใส่ข้อเข่าเทียมแทนผิวข้อเข่าเดิมที่มีการเสื่อมสภาพและสึกหรอไปแล้ว จะทำให้ข้อเข่าสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงเดิมมากที่สุด