แคล-ที ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อสุขภาพกระดูกและข้อของคนที่คุณรัก

ข้อมูลความรู้

โรคกระดูกพรุนป้องกันได้ด้วยอาหารเสริมแคลเซียม

โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้ 100 %

ปัจจุบันนี้ มีอีกโรคที่ติดอันดับหนึ่งในสิบที่ทำให้เสียชีวิตในผู้สูงอายุ คือโรคกระดูกพรุน ซึ่งฟังดูแล้วเหมือนเป็นโรคที่ไกลตัว และไม่น่ากลัว จึงไม่มีใครตระหนักสักเท่าไร แต่จะรู้ไหมว่าโรคนี้ใกล้ตัวเรามาก และเป็นขึ้นมาแล้วทำให้ร่างกายพิการ กระดูกสันหลัง ยุบ ทรุด คด และเสียชีวิตเร็วขึ้น โรคกระดูกพรุนนี้ อาจเปลี่ยนชีวิตของคุณไปตลอดทั้งชีวิต

ในชีวิตประจำวัน คนเราจะรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ ในการเสริมสร้างมวลกระดูก และส่วนใหญ่จะเน้นดูแลตนเองในความสวยงามเป็นหลัก ซึ่งในอนาคตการเกิดภาวะโรคกระดูกพรุนจะเป็นได้ง่าย ซึ่งในคนไข้บางรายที่มีภาวะกระดูกพรุนรุนแรงต้องทานยาแคลเซียม นานหลายปีทีเดียวกว่ากระดูกจะแข็งแรงและต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก ส่วนคนไข้ที่กระดูกสันหลังทรุด ยุบ และหัก แต่จะไม่สามารถเสริมสร้างให้กระดูกสันหลังตรงได้

 

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่กระดูกมีเนื้อกระดูกลดลงไม่ว่าจากสาเหตุใด โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำ ทำให้โครงสร้างของกระดูกพรุนทำให้กระดูกสันหลังโก่ง และกระดูกข้อสะโพก กระดูกข้อมือแตกหักได้ง่ายขึ้น

 

“กระดูกข้อสะโพกจะหักง่ายเวลาล้ม”

 

กระดูกเป็นอวัยวะที่สำคัญกับร่างกายเรามาก เพราะเป็นส่วนประกอบหลักที่มีอยู่ ทั่วร่างกายทำหน้าที่หลักในการประคองให้ร่างกายทรงตัว ในการยืน นั่ง นอน ได้ ช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงการเคลื่อนไหว เดิน วิ่ง ได้อย่างคล่องตัว กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใยโดยมี calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้งของกล้ามเนื้อและเอ็นในร่างกาย แคลเซียมจะมีอยู่ในกระดูก ร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1

  • ในวัยเด็กจนถึงช่วงหนุ่มสาว กระบวนการสร้างมวลกระดูก จะมากกว่าการทำลายหรือการสลายของมวลกระดูก ร่างกายจะสะสมโครงสร้างกระดูก ทำให้เนื้อกระดูกมีความหนาแน่น จนกระทั่งถึงอายุ 30 ปี จะเป็นช่วงที่ร่างกายมีโครงสร้างมวลกระดูกหนาแน่นที่สุด
  • โดยผู้ชายจะมีมวลกระดูกมากกว่าผู้หญิง จากนั้นก็จะเริ่มเข้าสู่ช่วงถดถอยของการสร้างมวลกระดูก กระบวนการสร้างกระดูกจะลดลง ทำให้มวลกระดูกค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จากการสลายของมวลกระดูก ตั้งแต่อายุเลย 30 ปี เป็นต้นไป
  • ในผู้หญิง ที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรืออายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จะเป็นช่วงที่เสียมวลกระดูกเร็วมากกว่าปกติเนื่องจากฮอร์โมนที่ต่ำลง ผู้หญิงจึงมีกระดูกพรุนและกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย

ก่อนที่คนเราจะไปถึงจุดที่เป็นโรคภาวะกระดูกพรุน เราควรกลับมาดูแลกระดูกให้แข็งแรงไว้ในทุก ๆ วัยของเรา และควรป้องกันภาวะโรคกระดูกพรุนกัน

อาการเตือนของโรคกระดูกพรุน

“ ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ” โดยส่วนมากผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมาพบแพทย์ด้วยการหกล้มหรือกระแทกไม่รุนแรงแต่เกิดกระดูกหักตาม ข้อมือ ข้อสะโพก หรือ มาพบแพทย์เพราะมีปัญหาว่าตัวเตี้ยลง เพราะหลังค่อมหรือหลังโก่ง

การดูแลและป้องกันภาวะกระดูกพรุน

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

และอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่ม สาว ซึ่งเป็นช่วงที่ควรสร้างความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุดคือ ประมาณวันละ 1,000 มิลลิกรัม แต่ผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือน ( อายุ 50-55 ปี ) ควรรับประทานแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม โดยรับประทานปลาเล็กปลาน้อยทอดกรอบ กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กะปิ เต้าหู้เหลือง เป็นต้น

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวิ่งเบา ๆ การเดินเร็ว ที่มีการลงน้ำหนักบนกระดูก การออกกำลังกายให้ประโยชน์ในสองด้าน ก็คือ ด้านแรกช่วยให้มีความคล่องแคล่วและมีกำลังกล้ามเนื้อมากขึ้น ทำให้โอกาสเสียหลักหกล้มลดลง และด้านถัดมา การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างมวลกระดูกมากขึ้น ทั้งนี้ ชนิดของการออกกำลังกายที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว สภาพร่างกายเดิม

  • หยุดสูบบุหรี่

หยุดสูบบุหรี่ หยุดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ

  • ควบคุมน้ำหนัก

ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป

  • รับประทานอาหารเสริมแคลเซียม

การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมเพื่อเพิ่มมวลกระดูก แคลเซียมที่ใช้ควรเป็นแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต เพราะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ได้ดีกว่าแคลเซียมอื่น ๆถึง 6 เท่า มีส่วนช่วยลดการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ดี การทานแคลเซียมต้องทานต่อเนื่อง ในทุกๆวัน ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

มวลกระดูกไม่สามารถสร้างให้เพิ่มขึ้นได้ในชั่วข้ามคืนจะต้องค่อย ๆ สะสมมวลกระดูกอย่างช้า ๆ เป็นเวลานาน และควรทานอาหารเสริมแคลเซียมเพื่อเสริมสร้างกระดูก และลดการเกิดโรคกระดูกพรุน

 

 

บทความแนะนำ

อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ

ผู้สูงวัย มวลกระดูกเสื่อมเปราะบาง ทานอาหารเสริมแคลเซียมแบบไหน

ผู้สูงวัย วัยทอง กระดูกเสื่อมมวลกระดูกเปราะบางลง เสี่ยงเกิดภาวะโรคกระดูกพรุนได้ ควรทานอาหารเสริมแคลเซียม ควบคู่กับการเน้นทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมแบบไหน

อ่านเพิ่มเติม »
แคลเซียมบำรุงกระดูก

ดูแลกระดูกให้แข็งแรง เสริมด้วยแคลเซียมข้าวโพดบำรุงกระดูก

มีภาวะโรคกระดูกพรุน เนื่องจากขาดแคลเซียมแร่ธาตุสำคัญ ช่วยดูแลกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทานเสริมด้วยแคลเซียมบำรุงกระดูก แคลเซียมจากข้าวโพด หรือแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต

อ่านเพิ่มเติม »

หมวดหมู่บทความ

บทความล่าสุด

อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ

ผู้สูงวัย มวลกระดูกเสื่อมเปราะบาง ทานอาหารเสริมแคลเซียมแบบไหน

ผู้สูงวัย วัยทอง กระดูกเสื่อมมวลกระดูกเปราะบางลง เสี่ยงเกิดภาวะโรคกระดูกพรุนได้ ควรทานอาหารเสริมแคลเซียม ควบคู่กับการเน้นทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมแบบไหน

อ่านเพิ่มเติม »
แคลเซียมบำรุงกระดูก

ดูแลกระดูกให้แข็งแรง เสริมด้วยแคลเซียมข้าวโพดบำรุงกระดูก

มีภาวะโรคกระดูกพรุน เนื่องจากขาดแคลเซียมแร่ธาตุสำคัญ ช่วยดูแลกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทานเสริมด้วยแคลเซียมบำรุงกระดูก แคลเซียมจากข้าวโพด หรือแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต

อ่านเพิ่มเติม »
อาหารเสริมแคลเซียม ผู้สูงอายุ

ผู้สูงวัย มวลกระดูกเสื่อมเปราะบาง ทานอาหารเสริมแคลเซียมแบบไหน

ผู้สูงวัย วัยทอง กระดูกเสื่อมมวลกระดูกเปราะบางลง เสี่ยงเกิดภาวะโรคกระดูกพรุนได้ ควรทานอาหารเสริมแคลเซียม ควบคู่กับการเน้นทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมแบบไหน

แคลเซียมบำรุงกระดูก

ดูแลกระดูกให้แข็งแรง เสริมด้วยแคลเซียมข้าวโพดบำรุงกระดูก

มีภาวะโรคกระดูกพรุน เนื่องจากขาดแคลเซียมแร่ธาตุสำคัญ ช่วยดูแลกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทานเสริมด้วยแคลเซียมบำรุงกระดูก แคลเซียมจากข้าวโพด หรือแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต

หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ

รับมือวัยทอง หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ มีอาการร้อนวูบวาบบ่อย ๆ

สังเกตอาการผู้สูงอายุ มักหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ขี้น้อยใจลูกหลาน วิตกกังวล ร้อนวูบวาบ เหวี่ยงวีนบ่อย ๆ ผู้ดูแลควรรับมือ กับอาการวัยทองของท่านอย่างไร?

แคลเซียมบำรุงกระดูก ผู้สูงอายุ

อาหารเสริมแคลเซียมบำรุงกระดูก ผู้สูงอายุ ช่วยให้กระดูกแข็งแรง

ปัญหาสุขภาพผู้สูงวัย มีความเสี่ยงเกิดภาวะโรคกระดูกพรุนได้ แคลเซียมแร่ธาตุสำคัญ มีส่วนช่วยดูแลกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทานเสริมด้วย แคลเซียมบำรุงกระดูก ผู้สูงอายุ

ปวดเข่า ปวดข้อ เลือกอาหารเสริมกระดูกและข้อตัวไหนดี

มีอาการปวดเข่า ปวดข้อ ควรเลือกอาหารเสริมกระดูกและข้อตัวไหนดี?

คอลลาเจน Type2 คืออะไร คอลลาเจนมีกี่ชนิด? มีอาการปวดเข่าปวดข้อ กระดูกเปราะบาง อ่อนแอลง กินอาหารเสริมกระดูกและข้อตัวไหน ติดตามความรู้การดูแลสุขภาพกับคุณหมอพิเชษฐ์

ผลิตภัณฑ์แคล-ที

สั่งซื้อ Cal-t ได้แล้ววันนี้ที่